นโยบายเพื่อผู้บริโภค

ข้อเสนอนโยบายคุ้มครองผู้บริโภค

ดูทั้งหมด >>
สถานะ :
  • 1. เป็นนโยบาย
  • 2. วางแผน
  • 3. ติดตามใน
  • 4. ดำเนินงาน
  • 5. ประเมินผล

ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย

ด้านบริการสุขภาพ

ข้อเสนอล่าสุด

ดูทั้งหมด >>

ความเป็นมา / สถานการณ์ ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการคลินิกชุมชนอบอุ่นร่วมกับคลินิกเอกชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีคลินิกเวชกรรมจำนวนกว่า 300 แห่ง เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการเบื้องต้นหรือผู้ป่วยนอก และสามารถส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการที่มีศักยภาพมากกว่า หากจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองสามารถเข้ารับบริการสุขภาพในระดับต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากขึ้น จากปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเรื่อง ระบบการเบิกจ่ายระหว่างคลินิกชุมชนอบอุ่นและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขตพื้นที่ 13 ทำให้มีการปฏิเสธการออกใบส่งตัวผู้ป่วย การเรียกเก็บค่าออกใบส่งตัว การบังคับบริจาคการออกใบส่งตัว การจำกัดโควต้าการออกใบส่งตัว หรือการส่งตัวที่ล่าช้าทำให้อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วย ปัญหาการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโรค NCDs ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 7 วัน และ 10 วัน ซึ่งปกติจ่ายเป็นเดือน ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่าย และเสียเวลางานในการมารับยา หรือถ้าต้องการยาเพิ่มต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง จนทำให้เกิดข้อร้องเรียนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายตามข้อเสนอของคลินิกชุมชนอบอุ่นแล้ว แต่ยังคงปรากฏเหตุการณ์และข่าวบนสื่อออนไลน์เรื่อง การปฏิเสธการออกใบส่งตัวผู้ป่วยของคลินิกชุมชนอบอุ่นอยู่ต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาผู้บริโภคได้ติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบและได้รวมตัวกันบนสื่อออนไลน์ เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา ทั้งการถูกปฏิเสธการออกใบส่งตัวผู้ป่วย การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยล่วงหน้า อีกทั้ง ยังมีผู้ป่วยที่ได้ร้องเรียนมายังสภาผู้บริโภคว่า คลินิกผู้ให้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และครอบคลุมสำหรับผู้เสียหายทุกคน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาผู้บริโภค เห็นว่าสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ทำให้ขาดโอกาสในการเข้ารับการรักษาพยาบาล และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กำหนดไว้ จึงได้จัดเวทีสภาผู้บริโภค เรื่อง “แนวทางแก้ไขปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองในกรุงเทพมหานครเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค” ขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและแนวทางในการแก้ไขปัญหาปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองในกรุงเทพมหานครระหว่างผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ...

สถานการณ์ สภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับกรณีที่รัฐบาลจะนำข้าวดังกล่าวออกมาจำหน่าย โดยผู้บริโภคตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเวลาหลายวันแล้วที่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าวก็ยังไม่พบว่าจะมีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดออกมาชี้แจงว่าจะตรวจสอบข้าวสาร 10 ปี ดังกล่าว จึงร้องเรียนมาที่สภาผู้บริโภคเพื่อขอให้เป็นตัวแทนของประชาชน ให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จากสถานการณ์ข่าวข้าวสาร 10 ปี ว่ามีความปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่ อย่างไร พร้อมได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เพื่อขอให้เป็นตัวแทนประชาชน ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตามกฎหมาย การดำเนินงาน สภาผู้บริโภคจึงทำหนังสือด่วนที่สุดถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอเข้าเก็บตัวอย่างข้าวสารชุดที่ถูกเก็บค้างโกดัง 10 ปี จากโรงสีทุกแห่ง เพื่อส่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับรอง ISO17025 ตามมาตรฐานการส่งอออกข้าวและพร้อมเผยแพร่ผลการทดสอบต่อสาธารณะ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 1. ขอเก็บตัวอย่างข้าวสารจากทุกโรงสี ทุกโกดังที่เก็บข้าวเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าวสารตามมาตรฐานการสุ่มตัวอย่างที่น่าเชื่อถือเพื่อส่งตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO17025 2. ขอเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนร่วมแถลงข่าวหากผลทดสอบแล้วเสร็จ 3. สภาผู้บริโภคสนับสนุนให้กระทรวงพาณิชย์ ยุติการจำหน่ายข้าวเพื่อการบริโภคหรืออาหารสัตว์ หากผลการตรวจยืนยันจากห้องทดลอง พบว่า มีสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตราย หรือมีสารก่อมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศหรือต่างประเทศ 4. ขอให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเปิดประมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคหรือห่วงโซ่อาหารซึ่งสามารถทำได้ทันที ความคืบหน้า 7 พฤษภาคม 2567 – สภาผู้บริโภค ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ข้าว 10 ปีกินได้จริงหรือ? พาณิชย์ – เกษตร ต้องตรวจ ทุกกระสอบก่อนจำหน่าย 14 พฤษภาคม 2567 – สภาผู้บริโภค แถลงข่าว พร้อมเป็นตัวแทนตรวจสอบคุณภาพ “ข้าว 10 ปี” พร้อมเสนอรัฐชะลอการประมูลข้าวสาร ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าวสาร 10 ปี และให้สภาผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการวางแผน – ตรวจสอบการประมูล

สถานการณ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ประสบปัญหาจากบริการธุรกิจนำเที่ยวภายในและภายนอกราชอาณาจักรในช่วงตุลาคม 2565 – มกราคม 2567 รวมทั้งสิ้น 686 เรื่อง มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 67 ล้านบาท โดยลักษณะปัญหาที่มีการร้องเรียน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ปัญหาการยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวก่อนการเดินทาง และการยกเลิกที่พัก คิดเป็นร้อยละ 85.86 2) ปัญหาการยกเลิกบริการไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 5.10  3) ปัญหาการโฆษณาเสนอขายโปรแกรมทัวร์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด คิดเป็นร้อยละ 2.19 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคและไม่มีการชดเชยเยียวยาความเสียหายต่อผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม สถานการณ์ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินที่เกิดจากบริการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์(ธุรกิจนำเที่ยว) ซึ่งสภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากกรณีบริษัทนำเที่ยวในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ ยกเลิกทัวร์ท่องเที่ยว แต่บริษัทฯ ยังไม่คืนเงินให้แก่ผู้บริโภคและมีผู้เสียหายจำนวนหลายร้อยราย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบและสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก โดยบริษัทที่ถูกร้องเรียนสูงสุดลำดับที่หนึ่งคือ บริษัท อ้วน ผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด และอันดับที่สองคือ บริษัท บลูนาวี หัวหิน จำกัด การดำเนินงาน จากสถิติเรื่องร้องเรียนจากธุรกิจนำเที่ยว สภาผู้บริโภคพบว่า เกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจได้เปิดให้ผู้บริโภคเข้าทำสัญญาซื้อบริการนำเที่ยวล่วงหน้า กล่าวคือการที่ผู้บริโภคต้องนำเงินทั้งหมดไปซื้อบริการที่จะได้รับในอนาคต รวมถึงมีการโฆษณาขายบริการนำเที่ยวในราคาที่ถูกเกินจริง และกำหนดเวลาให้ตัดสินใจน้อยเพื่อทำให้ผู้บริโภคต้องรีบตัดสินใจในทันทีโดยไม่อาจพิจารณาให้รอบด้าน ว่าราคากับบริการที่ได้รับนั้นเป็นไปได้จริงหรือไม่ และเมื่อตรวจสอบบริษัทที่เกิดปัญหาจากการดำเนินธุรกิจในลักษณะดังกล่าว มักพบว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทถูกต้องแต่กลับขาดการส่งงบการเงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือบางครั้งมีใบอนุญาต แต่ใบอนุญาตหมดอายุ จากปัญหาข้างต้น สภาผู้บริโภคจึงได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้บริโภค รวมถึงให้หน่วยงานที่มีอำนานจหน้าที่เข้าดำเนินการกับบริษัทนำเที่ยวที่ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว พบว่ามีกฎหมายหลายฉบับออกมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมนำเที่ยวของไทย ที่มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก แต่กฎหมายที่เยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายกลับไม่ได้มีการพัฒนาไปตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น สภาผู้บริโภคจึงเห็นว่าเพื่อป้องกันผู้ประกอบธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภค และปกป้องผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 โดยคณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์...

สถานการณ์ จากการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่มีการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ไอจี ติ๊กต็อก และไลน์ ที่พัฒนารูปแบบการใช้งานช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าบนออนไลน์ได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าแบบด่วนในประเทศไทยมีการเติบโตและแข่งขันสูงขึ้น มีผู้ให้บริการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนรายใหม่เกิดขึ้น รวมถึงมีรูปแบบบริการส่งสินค้าที่ตอบสนองผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยเฉพาะการส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง (COD) ซึ่งเป็นบริการส่งพัสดุที่เกิดขึ้นเพื่อลูกค้าที่ต้องการความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้า และไม่สะดวกโอนเงิน หรือใช้บัตรเครดิต ซึ่งผู้รับพัสดุจะชำระเงินค่าสินค้าก็ต่อเมื่อพนักงานของบริษัทขนส่งมาส่งสินค้าที่ปลายทางแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์และการขนส่งพัสดุสินค้าของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) พบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 สภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนด้านสินค้าและบริการทั่วไปจากผู้บริโภคทั้งสิ้น 11,623 กรณี โดยมีกลุ่มปัญหาซื้อของไม่ได้ของ ส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลง ไม่รับคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ไม่คืนเงินให้กับผู้บริโภคมากถึง 8,719 กรณี หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด โดยผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิแม้จะใช้วิธีการซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยการให้ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง หรือ COD แล้วก็ตาม เช่น มีการแอบอ้างส่งสินค้าเพื่อเก็บเงินปลายทางโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สั่งซื้อ การขายหรือส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อ ขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพหรือใช้งานได้ (สินค้าไม่ตรงปก) การปกปิดข้อมูลของผู้ส่งสินค้า การแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่งสินค้าไม่ครบถ้วนหรือไม่สามารถติดต่อได้ เป็นต้น ทั้งนี้เหตุที่เกิดขึ้นมักจะเป็นสินค้าราคาไม่สูง ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเห็นว่าไม่คุ้มค่าที่จะต้องเสียเวลา หรือเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตามเรื่องเพื่อให้ได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น สภาผู้บริโภค เห็นว่า วิธีการซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยการให้ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง หรือ COD นั้นยังไม่สามารถปกป้องผู้บริโภคจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงได้ แต่หากผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิที่จะขอเปิดดูสินค้าที่อยู่ในหีบห่อก่อนการจ่ายค่าสินค้าและส่งมอบโดยความยินยอมร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายผู้ส่งสินค้า จะช่วยจัดการปัญหาการถูกหลอกลวงจากการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ได้มากขึ้น ดังนั้น สภาผู้บริโภคจึงมีข้อเสนอแนะต่อบริษัท เพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้ การดำเนินงาน ขอให้ออกประกาศรับรองสิทธิและขั้นตอนในการเปิดบรรจุภัณฑ์สินค้าก่อนการส่งมอบและจ่ายเงินค่าสินค้า ตามที่ พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 31 ได้กำหนดสิทธินี้ไว้1. นัดประชุมหารือกับ สคบ. สพธอ. และ...