
บริการสาธารณะ ได้แก่ ไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์ เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงจัดหาให้แก่ประชาชน แต่ยังพบปัญหาค่าสาธารณูปโภคราคาสูง และการผลักภาระด้านต้นทุนการให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการ หากมีราคาที่เหมาะสม จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทุกยุคสมัยประสบปัญหาในการควบคุมและจัดการราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ไฟฟ้าและน้ำมันถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หลายธุรกิจ รวมถึงการดำรงชีวิตของผู้บริโภค ต่างพึ่งพาไฟฟ้าและน้ำมัน แต่ปัจจุบันผู้บริโภคกำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมัน ไฟฟ้าที่สูงขึ้น สวนทางกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง สภาผู้บริโภคจึงพยายามผลักดันประเด็นเหล่านี้ให้อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคและยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอในการควบคุมราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศช่วงวิกฤติราคาน้ำมันจากภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน
สถานการณ์ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมิได้มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม เพียงพอ สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงจัดทำข้อเสนอในการควบคุมราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศช่วงวิกฤติราคาน้ำมันจากสภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี การดำเนินงาน 1. ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 2. จัดงานเสวนาออนไลน์และถ่ายทอดผ่าน FB Live เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงของรัฐ เรามาถูกทางหรือยัง” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. ขอให้กระทรวงพลังงานเร่งกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมค่าการกลั่นน้ำมันให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค 2. ขอให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงพาณิชย์ ควบคุมค่าการตลาดให้เป็นธรรม 3. ขอให้กระทรวงพลังงานทบทวนวิธีการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นในประเทศ 4. ขอให้กระทรวงการคลังเก็บภาษี “ลาภลอย (windfall tax)” จากกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไม่ให้ความร่วมมือ ขอให้รัฐบาลได้พิจารณา อาศัยอำนาจแห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เพื่อประกาศการควบคุมราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ โรงกลั่น และราคาขายปลีก พร้อมทั้งห้ามนำน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ในประเทศส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนและลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ ความคืบหน้า –
ข้อเสนอต่อปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง
สถานการณ์ ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนและเป็นต้นทุนสำคัญในภาคขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางได้สะดวกและต้องพึ่งพาภาคบริการขนส่งสินค้า บริการต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต หากรัฐบาลปล่อยให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาแพง จะยิ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นตามไปด้วย การดำเนินงาน 1. จัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เรื่องรวมพลังสะท้อนปัญหาน้ำมันราคาแพง เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากเวทีมาใช้ประกอบการจัดทำข้อเสนอถึงรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง 2. จัดกิจกรรมแถลงข่าวเรียกร้องให้ติดริบบิ้นสีเขียวเพื่อเป็นสัญลักษณ์สะท้อนปัญหาราคาน้ำมันแพง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 3. ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เพื่อนำส่งข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. ขอให้กระทรวงการคลัง ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง 5 บาทต่อลิตร เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร 2. ขอให้กระทรวงพลังงาน ยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ E85 และดีเซล B20 ด้วยมีต้นทุนราคาที่สูงมากซึ่งมาจากการประกาศราคาอ้างอิงของรัฐบาลเอง จนกว่ารัฐบาลจะมีมาตรการและดำเนินการทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอ้างอิง ทั้งเอทานอลและไบโอดีเซลลดลงเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปกติได้ 3. ขอให้กระทรวงพลังงาน กำหนดระยะเวลาการปรับราคาน้ำมันขายปลีกได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ด้วยนับเต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศถึง 43 ครั้ง หรือเฉลี่ย 6 ครั้งต่อเดือน การลดจำนวนครั้งในการปรับราคาน้ำมันขายปลีกจะช่วยให้ระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น ช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและลดความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยลงได้ 4. ขอให้กระทรวงพลังงาน การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้เทียบเท่าราคาซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูปของตลาดภูมิภาคเอเชีย (ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ /ราคา Mean of Platts Singapore : MOPS) โดยไม่ให้บวกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งที่ไม่มีจริงเพราะการกำหนดราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศในปัจจุบัน ใช้ราคานำเข้าอ้างอิงและบวกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง…
ข้อเสนอเกี่ยวกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580
สถานการณ์ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (แผน PDP) พ.ศ. 2561- 2580 ฉบับปรับปรุงคร้ังที่ 1 ได้ลดสัดส่วนไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากลง และเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม และพลังงานน้ำจากประเทศลาวเข้ามาแทน พร้อมเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ทุ่นลอยน้ำ และพลังงานลม ให้เร็วขึ้น รวมถึงบรรจุโครงการท่าขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ไว้ในแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ แผน PDP ฉบับดังกล่าว มีความผิดพลาดในการคาดการณ์ความต้องการพลังงานเนื่องจากใช้ข้อมูลอ้างอิงการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่สูงมากเกินไปทำให้เกิดการลงทุนมากเกินความเป็นจริง กลายเป็นภาระค่าไฟฟ้าต่อผู้บริโภคผ่านค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าและต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ที่จะเพิ่มสูงขึ้น สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงไ้ด้เสนอข้อคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับแผน PDP ฉบับดังกล่าว การดำเนินงาน 1. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่องแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาและจัดการระบบไฟฟ้าของประเทศไทยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 2. ผลิตสื่อและสื่อสารสาธารณะประเด็นปัญหาและผลกระทบของแผน PDP ของรัฐ จำนวน 3 ชุดทาง FB สภาองค์กรของผู้บริโภค (ก.ย. ต.ค. 64 และ ส.ค. 65) 3. ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 เพื่อนำส่งข้อเสนอ 4. ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 เพื่อนำส่งข้อเสนอ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. รัฐบาลควรยุติการอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มจากปัจจุบัน 2. รัฐบาลควรยุติการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และมุ่งพัฒนาการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบอัจฉริยะ (smart electricity management) เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (pumped-storage…
ข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 (net metering)
สถานการณ์ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายค่าไฟฟ้าแบบหักลบกลบหน่วย (net metering) ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2565 ยังไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมติ ครม. ดังกล่าวได้ สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงได้รวบรวมปัญหาจากการดำเนินการและจัดทำเป็นข้อเสนอให้แก่หน่วยงานทั้งหมด การดำเนินงาน 1. คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 เพื่อสอบถามความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมติ ครม. วันที่ 27 ก.ย. 2565 2. ส่งหนังสือเพื่อส่งข้อเสนอให้กับปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพลังงาน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง และผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. ให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ ก) แก้ไขกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2558) ให้การติดตั้งโซลาร์รูฟทอปที่ขนาดไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ อนุโลมให้ไม่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง เพื่อช่วยลดต้นทุนการติดตั้งโซลาร์รูฟทอป สร้างแรงจูงใจให้มีผู้ติดตั้งมากขึ้น เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปที่ขนาดกำลังการผลิตไม่เกิน 5 กิโลวัตต์จะไม่ส่งผลต่อโครงสร้างของหลังคา ข) ให้เจ้าของอาคารเป็นผู้รับรองความแข็งแรงของหลังคาด้วยด้วยตนเอง 2. ให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินการ ก) ร่วมกับ กกพ. ปรับปรุงโครงการโซลาร์ภาคประชาชนโดยคิดค่าไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยไฟฟ้าและใช้มิเตอร์เพียงตัวเดียว ข) กำหนดมาตรฐานการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปสำหรับกลุ่มครัวเรือนโดยกำหนดรายละเอียดมาตรฐานต่าง ๆ ของอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปให้ชัดเจน…
ความเห็นต่อการปรับขึ้นค่า Ft สำหรับงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565
สถานการณ์ ค่าไฟฟ้าผันแปรตามสูตรค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 3.76 บาทต่อหน่วยเมื่อปลาย 2564 มาเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย สำหรับรอบเดือน กันยายน – ธันวาคม 2565 โดยที่ในการรับฟังความคิดเห็นประจำรอบของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีแต่ตัวเลือกที่จะขึ้นราคาค่าไฟฟ้า ไม่มีตัวเลือกในการคงราคาหรือลดราคาค่าไฟฟ้าเลย สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงได้เสนอความเห็นต่อการปรับขึ้นค่า Ft สำหรับงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 ไปยัง กกพ. การดำเนินงาน 1. ส่งหนังสือถึง กกพ. เพื่อเสนอความเห็นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 2. ส่งหนังสือถึงประธาน กกพ. เรื่องขอเข้าพบเพื่อหารือ การทำงานร่วมกันระหว่าง กกพ. กับ สภาองค์กรของผู้บริโภค เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ุ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยต่อการปรับขึ้นค่า Ft เพิ่มขึ้นจากค่า Ft ที่เรียกเก็บในงวดปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565) เนื่องจาก ก) เป็นราคาที่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนกับประชาชนโดยรวมภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และค่าครองชีพของประชาชนที่สูงมากในปัจจุบัน ข) ต้นเหตุสำคัญของภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นนั้นเกิดจากการวางแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่คำนึงถึงความมั่นคงทางด้านพลังงานเกินความจำเป็น และเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าเกินสมควร ไม่มีความยืดหยุ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่าง ๆ ของประเทศและของโลก ไม่ได้คำนึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดปัญหาปริมาณสำรองไฟฟ้าที่มากเกินจำเป็นหรือมีโรงไฟฟ้าในระบบล้นเกินความต้องการ แต่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายยังมิได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ค) ข้อกล่าวอ้างที่ว่า ปัญหาปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากอ่าวไทยมีจำนวนลดลง และต้องนำเข้า LNG ที่มีราคาแพงกว่ามาทดแทน จึงทำให้ค่า Ft…
ข้อเสนอเพิ่อแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง
สถานการณ์ ค่าไฟฟ้าถูกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 3.76 บาท ต่อหน่วย ขึ้นมามากกว่า 4 บาทต่อหน่วย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยที่เหตุของการปรับขึ้นค่าไฟฟ้ายังมีปัจจัยอื่น ๆ นอกจากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมชาติขยับสูงขึ้นตามที่หน่วยงานรัฐด้านพลังงานกล่าวอ้างเท่านั้น การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงควรดำเนินการด้วยความรอบคอบรอบด้าน สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงไ้ด้มีข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน การดำเนินงาน 1. ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อว้นที่ 21 มีนาคม 2565 2. จัดงานเสวนาออนไลน์ และถ่ายทอดผ่าน FB Live เรื่อง “การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน ทางออกค่าไฟแพง?” (28 เมษายน 2565) ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. ดำเนินการสนับสนุนการพึ่งตนเองด้านพลังงานไฟฟ้าของประชาชนอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนให้เพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยให้ (ก) จากเดิมกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มครัวเรือนไว้ที่ 2.20 บาท/หน่วย ให้เปลี่ยนราคารับซื้อเป็นระบบ net metering หรือระบบการคิดค่าไฟฟ้าแบบหักลบกลบหน่วยตามจริง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ประชาชน (ข) ขยายระยะเวลาการับซื้อไฟฟ้าของโซลาร์ภาคประชาชน จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 10 ปี เป็น 20 – 25 ปี หรือตามอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ 2. ยับยั้งและทบทวนการคิดค่า Ft ใหม่โดยด่วน โดยให้ดำเนินการดังนี้ (ก) ลดการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้มีค่าซื้อไฟฟ้าสูงถึง 4.00 บาทต่อหน่วย ให้มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเท่ากับการผลิตของโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ประมาณ 8,860 ล้านบาทต่อปี (ข) เจรจากับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดเงินประกันกำไรของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติให้อยู่ที่ร้อยละ 1.75 ให้ใกล้เคียงกับเงินประกันกำไรของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ค) กำหนดเพดานราคาก๊าซธรรมชาติในสูตรการคำนวณค่าผ่านท่อไว้ที่ 200 บาทต่อล้านบีทียู…
ข้อเสนอต่อปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง
สถานการณ์ ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนและเป็นต้นทุนสำคัญในภาคขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางได้สะดวกและต้องพึ่งพาภาคบริการขนส่งสินค้า บริการต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต หากรัฐบาลปล่อยให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาแพง จะยิ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นตามไปด้วย การดำเนินงาน 1. ผลิตสื่อจำนวน 3 ชุดในประเด็นการวางแผนการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบ (Power Development Plan: PDP) ที่ผิดพลาดของรัฐ โดยดำเนินการเสร็จแล้วจำนวน 2 ชุด และสื่อสารผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจสภาองค์กรของผู้บริโภค จำนวน 3 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564 2. จัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับร่างกฎหมายอากาศสะอาดกับเครือข่ายผู้บริโภค และเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ เครือข่ายผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกฎหมายอากาศสะอาด ร่วมลงนามเพื่อผลักดันให้รัฐพิจารณาร่างกฎหมาย และร่วมกับเครือข่ายอากาศสะอาดในการขับเคลื่อนกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย 3. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาและจัดการระบบไฟฟ้าของประเทศไทยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ มีข้อมูลสำหรับทีมวิจัยในการปรับปรุงการจัดทำแผน PDP ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล 4. จัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องรวมพลังสะท้อนปัญหาน้ำมันราคาแพง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ มีข้อมูลประกอบการจัดทำแนวทางการจัดการราคาน้ำมันแพง เพื่อเสนอต่อรัฐบาล 5. จัดกิจกรรมแถลงข่าวเรียกร้องให้ติดริบบิ้นสีเขียว เพื่อเป็นสัญลักษณ์สะท้อนปัญหาราคาน้ำมันแพง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ…