
ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึงการเดินทางด้วยสายการบินต้นทุนต่ำได้ง่ายขึ้น มีหลายสายการบินและหลายราคาให้เลือกเมื่อผู้บริโภคจองตั๋วโดยสาร แต่ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ทำให้รัฐบาลประกาศห้ามการเดินทางในทุกระบบ แต่ผู้บริโภคกลับพบปัญหาว่า สายการบินไม่มีนโยบายยกเลิกการเดินทางหรือการคืนเงิน และไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อ ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้น จากสถานการณ์โรคระบาด ผู้คนให้ความนิยมกับการซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันมากขึ้น ผู้บริโภคไม่ต้องออกไปซื้อสินค้านอกบ้านก็สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ เพียงไม่กี่วันของเหล่านั้นจะมาส่งถึงหน้าบ้าน แต่ในบางครั้งพบว่าสินค้าที่ซื้อมาไม่ตรงปก ไม่มีคุณภาพตามคำโฆษณา นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการขนส่งล่าช้า ราคาแพง รวมถึงมาตรฐานสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เช่น รถยนต์ชำรุดบกพร่อง ตลอดจนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงในเรื่องของการคืนสินค้านั้น ๆ
คณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไปจึงทำการศึกษาต้นตอของปัญหาดังกล่าว เพื่อยื่นข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค รวมถึงการจัดเวทีผลักดันเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัย สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาบริการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
สถานการณ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ประสบปัญหาจากบริการธุรกิจนำเที่ยวภายในและภายนอกราชอาณาจักรในช่วงตุลาคม 2565 – มกราคม 2567 รวมทั้งสิ้น 686 เรื่อง มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 67 ล้านบาท โดยลักษณะปัญหาที่มีการร้องเรียน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ปัญหาการยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวก่อนการเดินทาง และการยกเลิกที่พัก คิดเป็นร้อยละ 85.86 2) ปัญหาการยกเลิกบริการไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 5.10 3) ปัญหาการโฆษณาเสนอขายโปรแกรมทัวร์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด คิดเป็นร้อยละ 2.19 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคและไม่มีการชดเชยเยียวยาความเสียหายต่อผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม สถานการณ์ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินที่เกิดจากบริการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์(ธุรกิจนำเที่ยว) ซึ่งสภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากกรณีบริษัทนำเที่ยวในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ ยกเลิกทัวร์ท่องเที่ยว แต่บริษัทฯ ยังไม่คืนเงินให้แก่ผู้บริโภคและมีผู้เสียหายจำนวนหลายร้อยราย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบและสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก โดยบริษัทที่ถูกร้องเรียนสูงสุดลำดับที่หนึ่งคือ บริษัท อ้วน ผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด และอันดับที่สองคือ บริษัท บลูนาวี หัวหิน จำกัด การดำเนินงาน จากสถิติเรื่องร้องเรียนจากธุรกิจนำเที่ยว สภาผู้บริโภคพบว่า เกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจได้เปิดให้ผู้บริโภคเข้าทำสัญญาซื้อบริการนำเที่ยวล่วงหน้า กล่าวคือการที่ผู้บริโภคต้องนำเงินทั้งหมดไปซื้อบริการที่จะได้รับในอนาคต รวมถึงมีการโฆษณาขายบริการนำเที่ยวในราคาที่ถูกเกินจริง และกำหนดเวลาให้ตัดสินใจน้อยเพื่อทำให้ผู้บริโภคต้องรีบตัดสินใจในทันทีโดยไม่อาจพิจารณาให้รอบด้าน ว่าราคากับบริการที่ได้รับนั้นเป็นไปได้จริงหรือไม่ และเมื่อตรวจสอบบริษัทที่เกิดปัญหาจากการดำเนินธุรกิจในลักษณะดังกล่าว มักพบว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทถูกต้องแต่กลับขาดการส่งงบการเงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือบางครั้งมีใบอนุญาต แต่ใบอนุญาตหมดอายุ จากปัญหาข้างต้น สภาผู้บริโภคจึงได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้บริโภค รวมถึงให้หน่วยงานที่มีอำนานจหน้าที่เข้าดำเนินการกับบริษัทนำเที่ยวที่ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว พบว่ามีกฎหมายหลายฉบับออกมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมนำเที่ยวของไทย ที่มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก แต่กฎหมายที่เยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายกลับไม่ได้มีการพัฒนาไปตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น สภาผู้บริโภคจึงเห็นว่าเพื่อป้องกันผู้ประกอบธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภค และปกป้องผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 โดยคณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์…
ข้อเสนอแนะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการขนส่งพัสดุในรูปแบบเก็บเงินปลายทาง
สถานการณ์ จากการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่มีการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ไอจี ติ๊กต็อก และไลน์ ที่พัฒนารูปแบบการใช้งานช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าบนออนไลน์ได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าแบบด่วนในประเทศไทยมีการเติบโตและแข่งขันสูงขึ้น มีผู้ให้บริการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนรายใหม่เกิดขึ้น รวมถึงมีรูปแบบบริการส่งสินค้าที่ตอบสนองผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยเฉพาะการส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง (COD) ซึ่งเป็นบริการส่งพัสดุที่เกิดขึ้นเพื่อลูกค้าที่ต้องการความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้า และไม่สะดวกโอนเงิน หรือใช้บัตรเครดิต ซึ่งผู้รับพัสดุจะชำระเงินค่าสินค้าก็ต่อเมื่อพนักงานของบริษัทขนส่งมาส่งสินค้าที่ปลายทางแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์และการขนส่งพัสดุสินค้าของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) พบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 สภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนด้านสินค้าและบริการทั่วไปจากผู้บริโภคทั้งสิ้น 11,623 กรณี โดยมีกลุ่มปัญหาซื้อของไม่ได้ของ ส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลง ไม่รับคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ไม่คืนเงินให้กับผู้บริโภคมากถึง 8,719 กรณี หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด โดยผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิแม้จะใช้วิธีการซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยการให้ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง หรือ COD แล้วก็ตาม เช่น มีการแอบอ้างส่งสินค้าเพื่อเก็บเงินปลายทางโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สั่งซื้อ การขายหรือส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อ ขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพหรือใช้งานได้ (สินค้าไม่ตรงปก) การปกปิดข้อมูลของผู้ส่งสินค้า การแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่งสินค้าไม่ครบถ้วนหรือไม่สามารถติดต่อได้ เป็นต้น ทั้งนี้เหตุที่เกิดขึ้นมักจะเป็นสินค้าราคาไม่สูง ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเห็นว่าไม่คุ้มค่าที่จะต้องเสียเวลา หรือเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตามเรื่องเพื่อให้ได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น สภาผู้บริโภค เห็นว่า วิธีการซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยการให้ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง หรือ COD นั้นยังไม่สามารถปกป้องผู้บริโภคจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงได้ แต่หากผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิที่จะขอเปิดดูสินค้าที่อยู่ในหีบห่อก่อนการจ่ายค่าสินค้าและส่งมอบโดยความยินยอมร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายผู้ส่งสินค้า จะช่วยจัดการปัญหาการถูกหลอกลวงจากการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ได้มากขึ้น ดังนั้น สภาผู้บริโภคจึงมีข้อเสนอแนะต่อบริษัท เพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้ การดำเนินงาน ขอให้ออกประกาศรับรองสิทธิและขั้นตอนในการเปิดบรรจุภัณฑ์สินค้าก่อนการส่งมอบและจ่ายเงินค่าสินค้า ตามที่ พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 31 ได้กำหนดสิทธินี้ไว้1. นัดประชุมหารือกับ สคบ. สพธอ. และ…
ข้อเสนอมาตรการแก้ปัญหาการเรียกคืนถุงลมนิรภัยยี่ห้อทาคาตะในประเทศไทย
สถานการณ์ แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และบริษัทรถยนต์ได้ดำเนินมาตรการติดตามเรียกคืนถุงลมนิรภัยทาคาตะอย่างต่อเนื่อง แต่จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ณ วันที่ 6 กันยายน 2566 เรียกคืนชุดสร้างแรงดันถุงลมเสริมความปลอดภัย (ถุงลมนิรภัย) ยี่ห้อทาคาตะ ในประเทศไทยพบเจอว่ามีรถยนต์อยู่ในข่ายต้องเปลี่ยน จำนวนทั้งสิ้น 1,660,341 คัน และดำเนินการเปลี่ยนไปแล้ว 1,084,579 คัน แต่ยังเหลือ 575,762 คัน ที่ยังไม่ได้ทำการเปลี่ยน ซึ่งก็นับเป็นจำนวนคงเหลืออีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามการมีรถยนต์ที่เข้าข่ายต้องเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใช้งานอยู่บนถนน มีแนวโน้มเป็นอันตรายทั้งต่อผู้ขับรถยนต์ และต่อผู้ร่วมใช้ถนน และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า รถที่จะนำมาใช้จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ และขนาด ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับ ผู้โดยสาร ผู้ขับขี่รถคันอื่นๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยรถที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี ด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์พบปัญหาว่าการรับรู้ถึงปัญหาถุงลมนิรภัยทาคาตะไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสื่อสารไม่ต่อเนื่อง ทำให้เจ้าของรถยนต์บางส่วนไม่รู้ถึงปัญหานี้ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ การประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุท้องถิ่น มีความจำเป็น ควรต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องการการร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ในทุกภาคส่วน ทั้งกรมการขนส่งทางบก สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย บริษัทรถยนต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค บริษัทประกันภัย รวมถึงสภาองค์กรของผู้บริโภคเองก็ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงปัญหาและอันตรายให้มากที่สุด จากตัวเลขอัตราการนำรถยนต์ที่เข้าข่ายต้องเปลี่ยนถุงลมนิรภัยติดต่อเปลี่ยนที่ศูนย์บริการเพิ่มมากขึ้นขึ้นในช่วงที่มีการประชาสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เพื่อให้เกิดมาตรการการจัดการให้มีการนำรถยนต์ที่เข้าข่ายนำรถยนต์เข้ามาเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ นั้น กรมการขนส่งทางบก สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และ 8 บริษัทรถยนต์ ร่วมลงนามบันทึกความตกลง “โครงการความร่วมมือการรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนให้นำ รถยนต์เข้าตรวจสอบและแก้ไขถุงลมนิรภัย” และพัฒนาพร้อมเปิดใช้งาน “ระบบแจ้งเตือนถุงลมนิรภัย” เพื่อให้ประชาชนเร่งนำรถรุ่นที่เข้าข่ายใช้ถุงลมนิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ารับการตรวจสอบ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้ทราบข้อมูลของเจ้าของรถยนต์ที่เป็นปัจจุบัน และเป็นการสื่อสารโดยตรงกับเจ้าของรถยนต์ให้ทราบได้ทันที…
ข้อเสนอต่อปัญหาการยกเลิกเที่ยวบิน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
สถานการณ์ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ส่งผลให้เกิดปัญหาการยกเลิกเที่ยวบิน (Flight Cancellation) และมีผู้ที่ไม่ได้รับเงินคืนจากการซื้อตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า จากสายการบินของไทย ทั้งในเส้นทางในประเทศและระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ในฐานะหน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 100 ราย การดำเนินงาน สภาผู้บริโภคมีข้อเสนอแนะถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป สภาผู้บริโภคประชุมหารือเรื่อง แนวทางการคุ้มครองผู้โดยสารในเส้นทางการบินภายในประเทศ และระหว่างประเทศ และเชิญผู้แทนจาก กพท. เป็นวิทยากรให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้โดยสาร ที่เดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรมซูม (Zoom Meeting) ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ออกประกาศคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางการบินระหว่างประเทศเพิ่มเติมจากที่มีการคุ้มครองสิทธิเฉพาะเส้นทางการบินภายในประเทศเท่านั้น ให้ออกมาตรการชดเชยต่อผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบกรณีที่ยกเลิกเที่ยวบิน และการรวมเที่ยวบิน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ขอให้ขยายสิทธิจากเดิม กรณีสายการบินไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นไม่น้อยกว่า 7 วัน เนื่องจากการเดินทางไปต่างประเทศ มีขั้นตอนการทำเอกสารต่าง ๆ มากกว่าการเดินทางภายในประเทศ สร้างการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของ กพท.ต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารให้มากขึ้น และควรที่จะจัดการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขประกาศสายการบินต่อการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ แนวทางในการจัดการเชิงนโยบาย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันกับภาคประชาชน ความคืบหน้า วันที่ 5 สิงหาคม 2565 หัวหน้ากองคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการ ฝ่ายกำกับดูแลทางเศรษฐกิจ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) แจ้งต่อสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคเกี่ยวกับความคืบหน้าของ (ร่าง)ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กพท….
ข้อเสนอต่อปัญหามาตรฐานคุณภาพของหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียว ระดับการป้องกันทั่วไป ระดับใช้ทางการแพทย์และศัลยกรรม
สถานการณ์ มีผู้บริโภคร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ในประเด็นข้อสงสัยด้านประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยที่ประชาชนใช้เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อฯ ในระลอกที่ 3 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ประชาชนทั่วไปจะปฏิบัติตามมาตรการของรัฐอย่างครบถ้วน เช่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ด้านนอก ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่าง ทำงานที่บ้าน จึงมีข้อสังเกตว่า หน้ากากอนามัยที่ใช้กันทั่วไป อาจไม่มีประสิทธิภาพที่ดีเพียงพอในการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 จึงเสนอมายังสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เพื่อให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด การดำเนินงาน คณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป สอบ. ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการสำรวจหน้ากากอนามัยแบบชนิดใช้ครั้งเดียว ตามข้อร้องเรียนจากผู้บริโภค ที่เกิดความไม่มั่นใจต่อคุณภาพในการป้องกันโรคของหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียว โดยได้จัดเก็บตัวอย่างเพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพมาตรฐานของหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2564 และจัดเก็บข้อมูลการแสดงฉลากต่อผู้บริโภค จำนวน 60 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการกรอง อนุภาคขนาดเล็ก (Filter Efficiency) ทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของอากาศ (Air Permeability) โดยอ้างอิงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของหน้ากากอนามัย มาตรฐาน มอก. 2424-2562 และมาตรฐาน มอก. 2480-2562 ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 จากการทดสอบพบว่า หน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียวกว่าร้อยละ 68 ไม่ผ่านมาตรฐาน จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเร่งรัดดำเนินการกำกับดูแลตามอำนาจและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานโดยทันที ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค 1. ข้อเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 1.1 ขอให้ สคบ. ควบคุมฉลากบรรจุภัณฑ์ของหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ข้อกําหนด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินคาได้ถูกต้องตามการแบ่งประเภทของหน้ากากอนามัย…